สยามโมอะเดปิส แม่เมาะเอนซิส

สยามโมอะ​เดปิส​ ​แม่​เมาะ​เอนซิส เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง ในอันดับไพรเมต (Primate) ซึ่งปัจจุบันได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Siamoadapis maemohensis อยู่ในวงศ์ศิวะอะปิด (Sivaladapidae) ซึ่งมีกรามล่างจำ​นวน 4 กราม​ ​มีลักษณะสำคัญ คือ มีฟันกรามน้อยหนึ่งซี่​ซึ่ง​มีขนาด​ใหญ่​กว่าฟันกรามน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับไพรเมตวงศ์อื่น ๆสยามโมอะ​เดปิส​ ​แม่​เมาะ​เอนซิส มีลักษณะ​ใกล้​เคียง​กับลีเมอร์ มีหางยาว​ไว้​เกาะเกี่ยวต้นไม้และ​มีวิวัฒนาการน้อย​ซึ่ง​พบเฉพาะ​เกาะมาดากัสการ์​ ​ในทวีปแอฟริกา ขณะที่ลำ​ตัวของ สยามโมอะ​เดปิส​ ​แม่​เมาะ​เอนซิส มี​ความ​ยาว 15 เซนติเมตร หรือ​เล็ก​กว่าลิงลมในปัจจุบันครึ่งหนึ่ง​ มีน้ำหนักเพียง​ 500-700 กรัม หากินในเวลากลางคืน​ โดย​กินแมลง,​ ใบไม้และผลไม้​เป็น​อาหาร​ ​ไม่​สามารถ​กัดกินอาหารแข็ง ๆ ได้ ​มีอายุ​อยู่​เมื่อประมาณ 13 ล้านปีก่อน​หรือ​ตอนกลางของยุคไมโอซีนเมื่อ 8 ล้านปีที่​แล้ว โดยขุดค้นเป็นซากฟอสซิลครั้งแรกในอำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในประเทศไทยและในภูมิภาคแถบนี้ เมื่อปี ค.ศ. 2004 โดย ดร.เยาวลักษณ์ ชัยมณี นักวิทยาศาสตร์ชาวไทย ประจำกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)[1]